การสร้างนวัตกรรม….เป็นวัฒนธรรมองค์กร

   ได้ดูซีรีห์เกาหลี  เรื่อง  มรดกพันล้านวอน…ตอนจบ…ซึ่งบริษัทหนึ่งได้เปลี่ยนแนวการบริหารองค์กรโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม  …ในช่วงสุดท้ายเจ้าของบริษัท ได้มอบหุ้นให้กับพนักงานทุกคน…..เพื่อให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ  เป็นผู้มีบทบาทที่จะต้องร่วมสร้างความเจริญให้บริษัทของตน เพราะ….ตัวเองเป็นเจ้าของ มีหุ้นส่วน…..นี่ก็คงเป็นนวัตกรรมใหม่ของการบริหารสู่แนวคิดการสร้างนวัตกรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร…..ทุกคนจะได้กล้าพูดกล้าคิด กล้านำเสนอ  การมอบความ ” กล้า”  ให้กับบุคคลในองค์กร  จะมีส่วนผลักดันให้ ” คน ” ในองค์กรกล้าตัดสินใจมากขึ้น  ในตัวผู้เขียนเองก็ยังคงมีความขัดแย้งอยู่  จากการศึกษษการสร้างนวัตกรรมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร คงต้องใช้เวลา และการบริหารในระบบราชการที่มี ” หัวหน้า”  ตัดสินใจเบ็ดเสร็จ  เป็นตัวบั่นทอนนักคิดขององค์กรแน่นอนเลยทีเดียว

       ลองดูภาพเหล่านี้นะคะ…บรรยากาศของการสร้างนักนวัตกรให้องค์กร….น่าจะเป็นบรรยากาศของภาพใด

       

 
     

 จากบรรยากาศทั้ง  ๓ ภาพ   การสร้างนวัตกรรมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร  ผู้อ่านคงมองภาพออกว่าบรรยากาศใด….ดีกว่ากัน   ซึ่งตามความหมายของวัฒนธรรมนวัตกรรม :   วัฒนธรรมที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง  การสร้างบรรยากาศใหักับทุกคนทุกระดับตามบทบาทหน้าที่  เปิดความคิดในการรับฟังสิ่งใหม่ๆจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  กล้ารับความเสี่ยง กล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ   ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา  รวมทั้งการจัดยกย่องให้รางวัลคนทำความดี     

 

       ดังนั้นการที่จะสร้างนวัตกรรมให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรได้นั้น คงต้องร่วมสร้างปัจจัยก่อน  นั่นคือ

    ๑.  ต้องวิเคราะห์วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม และสมรรถนะองค์กร ก่อน เช่นเราบริหารดรงเรียนขนาดเล็ก และจะปรับปรุงสร้างทุกอย่่างเล็งผลเลิศเท่าโรงเรียนขนาดใหญ่แบบทันทีทันใดน่าจะไม่ได้…หรือทำให้ท้อแท้เสียก่อน

     ๒    ต้องวิเคราะห์ และกำหนดสิ่งกีดขวาง และสิ่งสนับสนุนให้ชัดเจน  เช่น เราต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้ครูทุกคนในโรงเรียน…..ก็ต้องดำเนินการภายใต้บริบทของทุกคนที่ยอม และเข้าใจถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง ไม่ใช่การบังคับ เพราะย่อมไม่สำเร็จ

     ๓.   ออกแบบวัฒนธรรมนวัตกรรมองค์กร อาจเริ่มจากสิ่งที่ง่าย เช่น งานทุกอย่าง วิถีการทำงานต้องใช้กระบวนการบริหารคุณภาพ  PDCA  เพื่อการพัฒนา  แก้ไขปัญหา และจัดกิจกรรมนำร่อง เช่น  การรายงานโครงการ เป็นต้น 

ในการดำเนินการนี้ เราต้องมีผู้นำด้านนวัตกรรม  /การกระจายอำนาจให้ผู้ร่วมงาน / พัฒนาสมรรถนะกำลังพล  

     ๔  ทบทวนผลลัพท์   และพัฒนายกระดับให้สูงขึ้น  ในการวางแผนการดำเนินงาน….และทบทวนไปข้อที่ ๑ ใหม่

เป็นการเริ่มสร้างวัฒนธรรม นวัตกรรมองค์กร  [  Innovation Culture]   

                  โดยสรุป  การสร้างนวัตกรรมเพื่อเป็นวัฒนธรรมองค์กร ผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดคือผุ้บริหารองค์กร….คุณยอมหรือยัง  คิดทางบวกมากน้อยเพียงใด…..เพราะองค์กรที่จะอยู่รอดได้   คือองค์กรที่สร้างนวัตกรรม  ผู้สร้างนวัตกรรมก็คือมนุษย์   มนุษย์ที่จะสร้างนวัตกรรมดีๆ ได้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำ ศักยภาพของทรัพยากรณ์มนุษย์  สภาพแวดล้อมในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร.

เชาวรัตน์  เตมียกุล.   การสร้างนวัตกรรม.  www. kruchaow.com/swol/swot-12.pdf

ผลิน  ภู่เจริญ . อินดนจิเนียริ่ง: แนวคิดการจัดการร่วมสมัยในการก้าวสู่ความเป็นองค์การระดับโลก.  ชิคาโก้ บิซิเนส  แมเนจเมนต์ จำกัด  : กรุงเทพฯ : ๒๕๕๕.

สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์.  สร้างนวัตกรรมเป็นวัฒนธรรมองค์กร.  

 

http://www.phrae2.com/xn--22c9be4cqrb8m1c/

http://www.atsme-cm.org/index.php?modules=message&file=view&id=1325664219

http://www.maejopoll.mju.ac.th/gallery_show.php?id=MTUwODMzNDI=&type=MTUwNzI1Mjg=&lang=

นักนวัตกร…..กับการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ ๒๑

                         

                                

           การสร้างโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตสำคัญมากสำหรับการพัฒนาพลเมืองในศตวรรษที่ ๒๑  โลกของเรายิ่งเล็กลงเรื่อยๆจากการคิด ค้น ประดิษฐ์  เพื่อความสะดวกสฃบายของมนุษย์สิ่งแล้วสิ่งเล่า  การปกิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ ๑๙ ที่สร้างความั่งคั่งให้อังกฤษ  การแสวงหาผลประโยชน์จากแผ่นดินอื่น การใช้โอกาสทางความรู้ทำลายทรัพยากรโดยขาดคววามยับยั้งชั่งใจ…ทำให้ประเทศที่ถูกกอบโกยทรัพยากร…ยากจนค่นแค้น…จากอดีตโลกที่ใบใหญ่กว้างไกล  ผลพวงจากการพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์..  สู่โลกที่แคบลง….คนรุ่นใหม่เริ่มมองเห็นความแตกต่างทางสังคม  มองเห็นความหายนะเบื้องหน้าจากนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

            ก้าวล่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐  โลกยุคใหม่เกิดการรวมตัวทางพันธมิตร การสร้างเครือข่าย ไม่ร่ำรวยเพียงผู้เดียวเริ่มมองหาผู้ร่วมพัฒนา โลกใกล้ชิดกว่าเดิม…ไม่มีใครเก่งกว่าใคร แต่แนวคิด  การพัฒนา ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ทำให้การสื่อสารบกพร่องไป    โลกจึงต้องสร้างภาษาสื่อสารภาษากลางขึ้น…..ในศตวรรษที่ ๒๑  เราอาจเห็นภาษากลางของโลกเกิดขึ้น  ( ถ้าเราไม่ดับไปก่อน)    การพัฒนา การเรียนรู้ นวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง…..เกิดขึ้นน้อยมากไม่ถึงร้อยละ ๑  แต่โลกก็ต้องการนักนวัตกรที่กลับมามองการพัฒนา ต่อยอด เทคโนดลยีที่เกิดขึ้นในเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมากขึ้น…………ในปลายศตวรรษที่ ๒๐  จึงเป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากการทำธุรกิจเชิงพาณิชย์และกอบโกยทรัพยากร….เป็น การมองสิ่งแวดล้อม  การรักษาโลกใบนี้ให้สวยงามมากขึ้น

          นักนวัตกร     ในศตวรรษที่ ๒๑   จึงต้องเตรียมตัวในการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  สินค้าผลผลิตต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ   สินค้า Green Product  จึงเกิดขึ้นมากมาย หรือนวัตกรรมถุงผ้า ลดโลกร้อน  การลดสารคาร์บอนด์  การคิดเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานเบอร์ ๕  เหล่านี้ เหล่านี้เป็นการสร้างความตระหนักให้นักนวัตกร  เริ่มมองนอกจากคิดต่อยอดผลผลิตแล้ว………ทุกฝ่ายเริ่มมามองที่การพัฒนาคน  ซึ่งเป็นผู้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผลิตขึ้นมา…….. การพัฒนาคนให้มีคุณภาพและตระหนักในความรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  รักษาโลกให้สะอาด    ผลผลิตใดที่ไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ ก็จะถูกมาตรการกีดกันทางการค้า…….เช่นเกาหลีเหนือ  ประสบมาแล้วจากการทดลองนิวเคลียร์…..

หรือ เมืองไทยเป็นทางผ่านในการซื้อขายงาช้าง เราถูกประณามจากชาวโลกเช่นกัน

         คำกล่าวของ  Charles  Darwin [1932]  เรื่อง มนุษย์  สิ่งแวดล้อม และการอยู่รอด

 ”  สิ่งมีชีวิตที่รักษาเผ่าพันธ์  ของตัวเองไว้ได้นั้น ไม่ใช่เพราะมีความฉลาดหรือแข็งแรงมากกว่าเผ่าพันธ์อื่น  แต่เป็นเพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวได้ดีกว่าในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง “

         โลกปัจจุบันของเรามิได้กลมที่ต้องรอการโคจรรอบดลกแล้วมาพบกัน  แต่โลกปัจจุบันกลับแบนเรียบแบบไร้พรมแดน   นักนวัตกร ยุคศตวรรษที่ ๒๑  นอกจากมีความรู้ ความคิดสร้างสรร ผลิตงานที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว…ต้องตระหนักด้วยว่า…งานของคุณ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เป็นอันตรายต่อคนหรือเปล่า………และเป็นการพัฒนาทางสังคมอย่างยั่งยืน ทำให้ผู้ใช้นวัตกรรมของเรา มีความสุข ปลอดภัย และเกิดประโยชน์โดยแท้จริงทั้งด้านนวัตกรรมและด้านสังคมศาสตร์…………….เพราะการผลผลิต  กระบวนการ  การบริการ ผู้ใช้ประโยชน์ก็คือ  ” มนุษย์”  

” ก่อนสร้างสิ่งใดให้มีคุณภาพ……….ต้องสร้างมนุษย์ให้มีคุณภาพก่อน  เพราะมนุษย์คือ ผู้ใช้นวัตกรรม…………….

                                  


พบกับ…….Outside   -in   and   Inside-out………  สัปดาห์หน้านะคะ

นวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไป /นวัตกรรมล้ำสมัย/นวัตกรรมก้าวกระโดด

นวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป  นวัตกรรมล้ำสมัย  นวัตกรรมก้าวกระโดด

นวัตกรรมทั้ง ๓ รูปแบบ มีความแตกต่างกันจากการคิดค้นและการเปลี่ยนแปลงสู่ผลผลิต หรือเปลี่ยนกระบวนการอย่างสิ้นเชิง ดังนี้

๓.๑  นวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation)  เป็นกระบวนการค้นพบ ( Discover ) หรือคิดค้นสิ่งใหม่  (Invent) โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดใหม่ (New Idea ) หรือความรู้ใหม่ (new  knowledge)   โดยมีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป มีการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทีละเล็กละน้อย จากเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป(Incremental Innovation) ว่าเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากความเชี่ยวชาญขององค์การหรือธุรกิจ ในเรื่องของเทคโนโลยีภายใต้โครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเดิม เช่น เครื่องซักผ้าที่มีการเปลี่ยนระบบการหมุน และประสิทธิภาพในกาซักให้มีคุณภาพมากขึ้นหรือเครื่องปรับอากาศที่มีการปรับปรุงระบบการฟอกอากาศและการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ก็นับว่าเป็นตัวอย่างของนวัตกรรมในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปที่เห็นภาพได้อย่างชัดเจน

 p19  p20
http://hificitythailand.tarad.com/product.detail_524554_th_2359407 http://www.learners.in.th/blogs/posts/374192

http://www.digitaltonto.com/2013/the-usefulness-of-useless-things/

๓.๒ นวัตกรรมที่เพิ่มเริ่มก้าวกระโดด ( Breakthrough  innovation ) 

        เป็นนวัตกรรมพัฒนาหรือนวัตกรรมล้ำสมัย  ซึ่งมาจากการร่วมกันคิดหาวิธีการใหม่ๆ ค้นหาความต้องการในอนาคตและร่วมกันพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  การรวมตัวของกลุ่มบุคคลทำให้เกิดการค้นพบที่สำคัญ เช่น นิวตัน  และ ไอนสไตน์   การค้นพบของเขาก็ต้องรอจังหวะ เวลาในการนำข้อค้นพบไปพัฒนาต่ออย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือต้องเกิดจากการรวมพลัง ( Empower  ) การ แลกเปลี่ยน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ( Share  Vision )  รวมทั้งการสร้างความร่วมมือ (  Collabuation Action) 

          การรวมตัวของนักคิดใหม่ๆ จึงเป็นการสร้างโอกาสในการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อที่จะเตรียมก้าวกระโดด จึงเป็นสิ่งท้าทายของคนรุ่นใหม่  ถ้านวัตกรรมได้รับการยอมรับ และมีประสิทธิภาพผลที่เกิดจากการคิดค้นที่รอเวลาและความเหมะสมก็จะกลายเป็นนวัตกรรมก้าวกระโดดต่อไป

          ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ของ IBM  ซึ่งออกมาเป็นรุ่นแรกๆ  แต่ก็ต้องรอจังหวะของการก้าวกระโดด เพื่อแข่งขันกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา  หรือทางการศึกษา การเกิดนวัตกรรมหรือการเสนอแต่ละนวัตกรรมต้องทดลองและรายงานความสำเร็จเพื่อประกอบการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็น โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล หรือการปรับหลักสูตร ปี ๒๕๕๖  ก็ต้องรอเวลาและคำตอบว่าจะมีประสิทธิภาพมากพอในการนำสู่ตลาดการใช้และเป็นที่พึงพอใจของตลาดมากน้อยเพียงใด

 p22  p23
http://www.compgamer.com/home/55055/zaggmate-keyboard http://dooqo.com/detail_page.php?sub_id=598

๓.๓  นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด (Radical Innovation)  เป็นกระบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริง 

http://www.digitaltonto.com/2012/4-types-of-innovation-and-how-to-approach-them/

 p24  p25
http://www.baanmaha.com/community/thread26726.html http://www.thaigoodview.com/node/13269

ในลักษณะที่มีความแตกต่างไปจากกรรมวิธี และแนวคิดเดิมไปอย่างสิ้นเชิงหรือเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน เป็นการออกแบบใหม่หมด นวัตกรรมในลักษณะก้าวกระโดด  (Radical Innovation) จะทำให้เกิดการออกแบบที่เป็นต้นแบบใหม่ของนวัตกรรม (New Dominant Design)  จะมีเพียง10% ของนวัตกรรมทั้งหมด

        ตัวอย่างนวัตกรรมที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด (Radical Innovation)เช่น กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงมาจากกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม โทรศัพท์ แทนจดหมาย หรือโทรเลข  เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมนี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นผู้นำตลาดของธุรกิจ รวมทั้งสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดและความอยู่รอดของธุรกิจได้มากกว่านวัตกรรมที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

 p26  p27
https://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82 http://mc404-gifted-science.blogspot.com/

 

       ผู้เขียนจึงขอสรุปในนวัตกรรมทั้ง ๓  ว่า  ในลักษณะค่อยเป็นเป็นค่อยไป (Incremental Innovation) เป็นนวัตกรรมที่มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยจะพัฒนาจากพื้นฐานแนวคิดหรือการออกแบบจากผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงจะมีมากน้อยเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่องค์การมีอยู่  ส่วนนวัตกรรมเมก้าวกระโดด เป็นการเริ่มต้นการรวมกลุ่มของนักคิดรุ่นใหม่ ในการร่วมคิดค้นและนำเสนอนวัตกรรมนั้นๆ การจะทำให้นวัตกรรมยอมรับจึงทำให้คนรุ่นใหม่กล้าเสี่ยงและนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมล้ำสมัยขึ้น  ส่วนนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด  มีนานๆครั้งที่คนจะคิดเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตปกติสู่การใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี เช่นการใช้พลังงานเครื่องจักร แทนแรงงานคนและสัตว์ หรือการเปลี่ยนจากการเขียนจดหมายเพื่อการสื่อสาร เป็นการส่งสัญญาณผ่านการใช้โทรศัพท์  หรือการใช้ Webcam  ทำให้คนที่อยู่ไกลกันก็เห็นหน้ากันได้ในระบบ ICT.

http://www.trcn.ac.th/webN/page7.html

http://hrcenter.co.th

http://kolkanun01.blogspot.com/

นวัตกรรม…สู่เทคโนโลยี..จากนักคิดสู่นักประดิษฐ์ : คิด + ประดิษฐ์พร้อมกัน

นวัตกรรม…..สู่เทคโนโลยี…จากนักคิดสู่นักประดิษฐ์ : คิด+ประดิษฐ์พร้อมกัน

                  นวัตกรรม…….พลวัติของนักคิด….แน่นอนถ้านักคิดเอาแต่คิด  ไม่ลงมือทำ  ทำงานเป็นทีมไม่เป็น…การพัฒนาองค์กรเพื่อสร้าง Innovation Thinking  ก็คงยาก   ขณะเดียวกัน  เรามีผลงานมีผลิตภัณฑ์  มีเทคโนโลยีที่ผลิตจนคนติดและใช้มานาน……จนตกรุ่น…..   ในอดีตมนุษย์สามารถสร้างเทคโนโลยีขึ้นมามากมาย เช่นการทอผ้า  การสร้างถนน การสร้างระบบความร้อน    …..ในช่วงเวลานั้นคนที่ร่ำรวยจากการใช้เทคโนโลยีและขายเทคโนโลยีคือ อังกฤษ  เป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศอย่างมาก

   นวัตกรรม  &  เทคโนโลยีนวัตกรรม &  เทคโนโลยี

การพัฒนานวัตกรรมเทคโนดลยีในศตวรรษที่ ๑๙  เป็นการบ่งบอกความเก่งกล้าที่มนุษย์กล้าสู่้กับธรรมชาติ….และเป็นช่วงขอการเปลี่ยนแนวคิดทางศานาคริสต์ใช่ช่วงนี้ด้วย แทนที่พระเจ้าสร้างทุกอย่าง เป็นมนุษย์สร้างโดยพระเจ้าประทานพร…….จากการที่เทคดนดลยีสร้างความมั่งคั่งทำให้สังคมเกษตรเริ่มสูญหาย….กลายไปสู่สังคมอุตสาหกรรม….สังคมแห่งโรคภัยไข้เจ็บ  เกิดการแสวงหาแผ่นดินใหม่ที่สวยงาม…….ถ้าคุณได้งานหนังสือชุดบ้านเล็กในป่าใหญ่ของ ล่อร่า อิงกัลส์….. คุณจะมีแรงบันดาลใจและ คิดบวกมากมาย…..ถจำได้ว่าอ่านเรื่องนี้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓  เพราะตอนนั้นห้องสมุดจังหวัดอยู่ที่ศาลแขวงติดกับโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเสมาเมือง…..ก็เลยมีแหล่งหนังสือสำหรับเรา …….

นวัตกรรมเทคโนโลยีที่โดดเด่น  ในช่วงศตวรรษที่ ๑๙    เช่น

เครื่องจักรไอน้ำ  ผู้สร้างนวัตกรรม  คือ  เจมส์  วัตต์  คศ ๑๗๗๐-๑๗๘๐    ช่วงเวลาจะแสดงถึงการสร้างนวัตกรรมก่อนเกิดเป็นเทคโนโลยีที่ยอมรับใช้กันแพร่หลาย ขณะที่มีการใช้นวัตกร  ก็ต้องสร้างโอกาส คิด  และทดลอง…..เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างประโยชน์ให้มากขึ้น…..ก็จะเกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อเพิ่มทสมรรถนะของเทคดนดลยี หรือกระบวนการต่างๆให้ดีขึ้น    หรือหลอดไฟฟ้า   ของโธมัส  เอดิสัน  และ โจเซฟ  สวอน    ในปี คศ ๑๘๗๙-๙๐    ก็ใช้ช่วงเวาในการพัฒนา คิดค้น

ทดลอง เช่นกัน  …….  จากนัดคิด  นักประดิษฐ์  อาศัยความรู้เดิม  ประสบการณ์  ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ  ทดลอง สร้างความเชื่อมั่น…..ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่และเทคโนโลยีอย่างมากมาย กว้างขวาง และที่สำคัญ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์  การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  ในศตวรรษที่ ๒๐  คือ

๑.  การใช้เครื่องจักรแทนมนุษย์

๒. การใช้กำลังของสิ่งไม่มีชีวิตแทนกำลังของคนและสัตว์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรไอน้ำ

๓.  การปรับปรุงการใช้วัตถุดิบ เช่น  วัตถุเคมีและโลหะ  เป็นต้น

การคิดนวัตกรรมพัฒนาเทคโนโลยี…เราคงให้ความสำคัญกับส่วนใดส่วนหนึ่งเพียงส่วนเดียวไม่ได้ เพราะท้ังสองส่วนต้องพึงพากัน…องค์กรใดไม่มีนักนวัตกร…..องค์กรนั้นก็เหมือนตายแล้ว……ขาดชีวิตชีวา…….

”  เรามาสร้างนวัตกรในองค์กรของเราเอง…..เพื่อนำสู่การพัฒนา…..อย่างที่เราต้องการ..อ๋อ…ใช้กระบวนการ Open  Innovation  ด้วยนะ..”

Related articles

About Me

ไหว้ครู ๑๓ มิย. ๒๕๕๖
แนะนำตัวก่อนนะคะ  ดิฉันชื่อ   อุษณีษ์  จันทร์สุวรรณ  ผู้อำนวยการโรงเรียนทรายขาววิทยา

พ่อ  แม่ และคนที่บ้านเรียก  ” ลูกอ้อย”   ”  น้องอ้อย”  ”แม่อ้อย”

ประวัติการทำงาน    บรรจุคร้ังแรก  โรงเรียนวัดหนองจอก  กรมสามัญศึกษา   กทม.   ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมหนองจอก  ปี ๒๕๒๐-๒๕๒๓

เมษายน ๒๕๒๓   ย้ายมาปฏิบัติราชการที่โรงเรียนศรีพฤฒา  กทม.

ตุลาคม ๒๕๒๘    ย้ายมาปฎิบัติราชการโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช

กรกฎาคม  ๒๕๕๓   รับตำแหน่งผุ้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางวัง สพท.นศ. ๓

ธันวาคม  ๒๕๕๔      รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทรายขาววิทยา  สพม. ๑๒   – ปัจจุบัน

ประวัติการศึกษา        ประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๓ วัดเสมาเมือง

มัธยมศึกษา  โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

อนุปริญญา   วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

ปริญญาตรี    มศว. บางแสน

ปริญญาโท    ม.รามคำแหง นครศรีธรรมราช

ปริญญาเอก   ………………กำลังศึกษา….ดุษฏีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการจัดการศึกษา   ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช

P1370637270950_389865487795640_553198535_n

ติดต่อกันได้ที่  ๑๘๒  ถนนศรีธรรมราช  อ. เมือง จ.นครศรีธรรมราช   ๘๐๐๐๐  /โรงเรียนทรายขาววิทยา อ. หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๑๗๐

เบอร์โทร ๐๘๑-๘๙๑๑๗๒๖

email :  usanee2498@gmail;com

facebook :  usanee  chansuwan

website   usanee2498.wordpress.com

Blog          
http://www.gotoknow.org/user/usanee2498/blogs

Blog          
http://www.oknation.net/blog/account.php?uid=86786

ไหว้ครู..นร.ทุกคนนำดอกไม้มาไหว้ครู...นอกเหนือจากตัวแทนนำพานไหว้ครูแล้ว

ไหว้ครู..นร.ทุกคนนำดอกไม้มาไหว้ครู…นอกเหนือจากตัวแทนนำพานไหว้ครูแล้ว

ไหว้ครู...บรรยากาศที่สงบ  สวยงามในสวนสันติธรรม

ไหว้ครู…บรรยากาศที่สงบ สวยงามในสวนสันติธรรม

นาฏศิปไทย...ทักษะที่ต้องปลูกฝังเยาวชนไทยทุกคน

นาฏศิปไทย…ทักษะที่ต้องปลูกฝังเยาวชนไทยทุกคน